

โครงการส่งเสริมความเป็นครูคณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 แนวทาง STEAME DUCATION
วันที่ 14 มีนาคม 2566
ณ ห้องประชุมสิริวิชญากร 1 ชั้น 2 อาคารสิริวิชญากร (อาคาร19) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการดำเนินการโครงการ
**การศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ว่า ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ณ2580) โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและยังสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 25600ณ 2579 ในยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งเป็นการนำนโยบายรัฐบาลด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัยและด้านการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑ มาสู่การปฏิบัติ ตลอดจนเป็นการจัดโปรแกรมการศึกษาระดับสากลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทางด้านการศึกษาที่เท่าเทียม ทั่วถึง และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายของการศึกษาและการพัฒนาทักษะสำหรับปี 2030 (The Future of Education and Skills 2030) ตามที่กลุ่มประเทศ OECD ได้กำหนดไว้เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 ในทุกมิติ ทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และเจตคติและคุณค่า (Attitudes and Values)สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนและสร้างความผาสุกระดับบุคคลและสังคม ดังนั้นครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถและเต็มศักยภาพ รวมทั้งครูต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนของครูยังมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง เช่น ด้านความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง ด้านทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน และวิธีการสอนของครูยังเน้นการหาคำตอบมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่คำตอบ อีกทั้ง ปัญหาเรื่องหลักสูตรที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หลักสูตรยังไม่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดสมรรถนะเท่าที่ควร ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะการคิดขั้นสูง เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น และไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือในชีวิตประจำวันได้ โครงการดังกล่าว ยังส่งผลคุณูปการต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยรวมถึงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ดี กินดี มีความสุข สร้างความผาสุกระดับบุคคลและสังคม นำพาให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาสมรรถนะความเป็นครูคณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวทาง STEAM EDUCATION
โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 56 คน เข้าร่วมโครงการ